เสริมพลัง สร้างความเข้าใจ ดึงการมีส่วนร่วม สบน. & TDRI รวมพลังยกระดับการสื่อสารสร้างสรรค์เชิงรุก

11 กุมภาพันธ์ 2020

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะสนับสนุนให้การดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประสบผลสำเร็จ เกิดผลผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทาง TDRI และ สบน. เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้นัดหมายหารือกันในประเด็นการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนงานการสื่อสารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผลการหารือทำให้ได้เป้าหมายของการสื่อสารฯ​ และข้อตกลงที่จะช่วยกันดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ อย่างชัดเจนและเข้าใจตรงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เป้าหมายของการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ EduSandbox.com 

ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าจะใช้ช่องทางผ่านเว็บไซต์ EduSandbox.com ในการเป็นสื่อกลางที่จะสื่อสารงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ

  1. สร้างเสริมพลัง (Empowerment) นำเสนอภาพอันโดดเด่นโดยโฟกัสไปที่ครู ที่ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้ขับเคลื่อนที่มุ่งมั่นสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนเหล่านั้นเกิดขวัญและกำลังใจพร้อมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นมีพลังใจในการขับเคลื่อนครั้งนี้ นอกจากนี้ต้องพยายามสร้างให้ทุกคนที่ร่วมขับเคลื่อนเป็นผู้สร้างสรรค์และส่งบทความมาร่วมเผยแพร่
  2. สร้างความเข้าใจและรายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในมิติต่างๆ เช่น ความคืบหน้าตาม พ.ร.บ. หรือ ความคืบหน้าการปลดล็อกกฎระเบียบต่างๆ เป็นต้น โดยทีมงาน สบน.และ TDRI ช่วยประสานข้อมูลและนำมาเรียบเรียงจัดทำเป็นภาพการรายงานผ่านเว็บไซต์ที่เข้าใจง่ายโดยอาจเพิ่มเมนูใหม่ขึ้นมาให้ชัดเจนใน Home page 
  3. สร้างการมีส่วนร่วม ปัจจุบันการสื่อสารยังเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว ดังนั้นจึงเห็นควรเปิดพื้นที่ให้กับคนทั่วไปได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้มากขึ้น ให้เค้าได้มีพื้นที่แสดงออกทางความคิดเกี่ยวกับพื้นที่นวัตกรรม ซึ่งอาจนำไปสู่การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมต่อไป
ข้อตกลงร่วมกันในการช่วยกันดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันว่าจะช่วยกันทำสิ่งต่อไปนี้
  • ร่วมกันพัฒนาแหล่งข้อมูลเบื้องต้นสำหรับคนที่อยากเริ่มรู้จักพื้นที่นวัตกรรมในเว็บ www.EduSandbox.com ให้เป็นหมวดหมู่เฉพาะที่สามารถเข้าถึงได้ตั้งแต่หน้า Home page ทั้งนี้ สบน. จะดำเนินการเพิ่ม tab/page “รู้จักพื้นที่นวัตกรรม/Beginner’s Guide” เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ tap “ภาคีของเรา” เพื่อ list รายชื่อภาคีที่ร่วมทำทั้งระดับส่วนกลางและในพื้นที่ ในส่วนของ TDRI จะช่วยรวบรวมเอกสาร คลิปวิดิโอและสื่อต่างๆ ที่ใช้อธิบายเรื่องพื้นที่นวัตกรรม ทั้งที่ TDRI เคยทำ รวมทั้งของภาคีอื่นทำไว้ ส่งให้กับ สบน. เพื่อนำลงประชาสัมพันธ์บนเว็บต่อไป
  • เว็บไซต์ควรจัดให้มีการนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าเรื่องการปลดล็อกและการติดตามการทำงานพื้นที่ให้เห็นเป็น timeline บนเว็บ เพื่อการสื่อสารกับหน่วยงานภายในกระทรวงและพื้นที่ที่ทุกคนจะติดตามความคืบหน้าในประเด็นต่างๆ ซึ่ง สบน. จะเพิ่ม tab บนหน้าเว็บ “ติดตามความคืบหน้า” ส่วน TDRI ออกแบบ Tracker และหาคนอาสามาช่วยพัฒนาเว็บไซต์ www.EduSandbox.com ที่มีความชำนาญด้าน WordPress 
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมในช่องทางการสื่อสารพยายามให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง โดยปัจจุบัน สบน. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บ Line อยู่แล้วให้เพิ่มเติมให้มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook Page ไปพร้อมๆ กันด้วยอีกช่องทางหนึ่ง ส่วน TDRI จะช่วยดำเนินการนำบางข่าวที่สำคัญไปลงยัง Facebook Page ของ TDRI ซึ่งมีผู้คนทั่วไปติดตามจำนวนมา ทั้งนี้จะปรึกษาทีม KM ภายใน TDRI ก่อน ถึงขั้นตอนระเบียบวิธีการนำข่าวจากพื้นที่นวัตกรรมไปเผยแพร่
  • ในเร็วๆ นี้จะมีการจัดงาน Press conference “ครบ 1 ปีพ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรม” โดย  TDRI จะเป็นผู้จัดหลักและเปิดพื้นที่ให้ภาคีมาร่วมสื่อสาร ส่วน สบน. ร่วมเป็น partner หลักในการจัดงานครั้งนี้ ลักษณ์ะรูปแบบของงานและแนวทางการนำเสนอครั้งนี้โดยสังเขปจะนำเสนอเรื่องราวในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
    • 1 ปีที่ผ่านไป มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ผลต่อเด็ก/ผลต่อโรงเรียน/ผลต่อกลไกพื้นที่/ผลต่อการปลดล็อกกฎหมาย
    • เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำงานในพื้นที่ และมีอะไรที่ช่วยกันทำต่อโดยนำเสนอผลการวิจัยติดตามของ TDRI
    • แบ่งห้องย่อย/นำเสนอแต่ละประเด็นย่อย สิ่งที่คิดค้นทดลองทำในพื้นที่แล้ว เป้าหมายเพื่อให้เกิด ความตระหนักและความอยากนำไปใช้/ผลักดันต่อ  และให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น
      • ประเด็นหลักสูตร: 
        • showcase โรงเรียนที่เริ่มทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ/มีความสำเร็จ/ท้าทายอะไรในการทำ
        • สำนักวิชาการ/สบน. เล่าแผนการ pilot กรอบหลักสูตรใหม่ในพื้นที่นวัตกรรม
      • ประเด็นการประเมิน: สร้างเครื่องมือประเมินใหม่ที่สอดคล้องกับพันธกิจ
        • Showcase เครื่องมือประเมิน CT และผลการ pilot
        • Showcase School Report Card 
        • Showcase กรอบการประเมินพื้นที่
        • ชวน discuss ต่อว่าควรต่อยอดอย่างไร / ทำอะไรอีก
      • ประเด็นปลดล็อก:
        • กคศ./สบน./พี่เต้ เล่าความคืบหน้าการปลดล็อกประเด็นบุคลากรและงบประมาณ
        • ชวน discuss ต่อว่าควรต่อยอดอย่างไร/ทำอะไรอีก

ผลจากการหารือกันครั้งนี้ทำให้เห็นภาพความสำคัญของการเชื่อมต่อ พูดคุย หารือ จนเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เกิดความคิดเห็นที่เข้าใจร่วมกัน เกิดมติที่เป็นเอกฉันท์ในสิ่งที่จะดำเนินการ อันนำไปสู่การช่วยลดความซ้ำซ้อนของงาน การขับเคลื่อนงานมีการดึงเอาจุดแข็งลักษณะเด่นของแต่ละองค์กรมาช่วยกันเสริมหนุนการปฏิบัติซึ่งกันและกันช่วยให้งานที่ทำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนตัวคิดว่าการทำงานในพื้นที่นวัตกรรมของแต่ละจังหวัดหากสามารถดึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมาร่วมกันพูดคุยปรึกษาหารือกันเป็นประจำ โดยมีเป้าหมายหนึ่งเดียวกัน คิดว่าความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาไทยก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วตอนนี้

ผู้เข้าร่วมหารือครั้งนี้ประกอบไปด้วย
1. นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2. นายพิทักษ์ โสตถยาคม รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
3. นายเก ประเสริฐสังข์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการสื่อสารสังคม สบน.
4. นางสาวณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัย TDRI
5. นางสาวณัฐนันท์ อมรานันทศักดิ์ นักวิจัย TDRI


ผู้เขียน: เก ประเสริฐสังข์ และณิชา พิทยาพงศกร
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์
ภาพประกอบ: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ปลดล็อกบุคลากร : ความหวังใหม่จากความเคลื่อนไหวของ ก.ค.ศ.สิ่งดีงาม 4 ป. (ปลื้ม เป้าหมาย เปลี่ยนแปลง ปฏิบัติจริง) ในโรงเรียนบ้านเขาจีน ในพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดสตูล
บทความล่าสุด